วันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2558

โครงการฝึกอบรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกองโดยวิธีวิศวกรรมแม่โจ้ 1

ระหว่างวันที่  19 – 26   ธันวาคม  2557    ณ   กศน.ตำบลโนนห้อม  หมู่ที่ 1 ตำบลโนนห้อม   อำเภอเมืองปราจีนบุรี   จังหวัดปราจีนบุรี


          
    ในการทำกองปุ๋ยหมักแบบวิศวกรรมแม่โจ้ 1 ที่ไม่ต้องพลิกกลับกอง ต้องการวัสดุเพียง 2 ชนิด คือ เศษพืช (ทุกชนิด-สดหรือแห้งก็ได้ ยกเว้นแกลบ ขี้เลื่อย ขุยมะพร้าว และเศษกิ่งไม้) และมูลสัตว์ (ทุกชนิด -สดหรือแห้งก็ได้) 

นวัตกรรมนี้ใช้มูลสัตว์เป็นแหล่งของจุลินทรีย์หัวเชื้อและไนโตรเจน ใช้เศษพืชเป็นแหล่งของคาร์บอน .... จุลินทรีย์ในกระบวนการย่อยสลายเศษพืชต้องการสัดส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนประมาณ 20-25 ต่อ 1 ทำให้เป็นที่มาของสัดส่วนใบไม้ต่อมูลสัตว์ 3 ต่อ 1 ... และฟาง เศษข้าวโพด ผักตบ หญ้าต่อมูลสัตว์ 4 ต่อ 1 ..... โดยการตวง ไม่ใช่โดยการชั่งนะครับ ..... การตวงสัดส่วนให้ถูกต้อง บวกกับการดูแลน้ำกองปุ๋ยได้ดี ไม่มีบริเวณใดแห้ง (ทั้งข้างนอกหรือข้างในกอง) จะทำให้ปุ๋ยหมักที่ทำเสร็จมีค่าผ่านเกณฑ์มาตรฐานของประเทศทุกครั้ง

ในคลิปเป็นการทำกองปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับองจากฟางและขี้วัว .... หลังจากที่ลองตวงขี้วัวในสุ่มไก่ ก็พบว่า 1 สุ่มไก่เท่ากับขี้วัว 4 กระสอบ .... ใครมีเข่งพลาสติกก็ใช้เข่งนะครับ

ชั้นที่ 1 ตวงฟาง 4 สุ่มไก่ .... อัดฟางในสุ่มไก่ให้แน่น .... แล้วเอามาวางบนดิน ..... ฐานกว้าง 2.5 เมตร วางหนา 10 ซม. โดยอาศัยคราดเหล็กช่วยเกลี่ยให้เรียบ ..... กองปุ๋ยวิธีนี้ห้ามขึ้นเดินเหยียบบนกองครับ เพราะจะทำให้กองปุ๋ยแน่นเกินไป อากาศจะเข้าไม่ได้ .... ถ้าอากาศเข้าไม่ได้ การเป็นปุ๋ยจะแย่มาก อาจใช้เวลาเป็นปี เพราะเป็นวิธีที่ไม่ต้องพลิกกลับ .... ใครชอบขึ้นเหยียบกองก็ต้องไปศึกษาการทำปุ๋ยหมักแบบพลิกนะครับ ..... ใครวางเศษพืชหนากว่า 10 ซม. อันนั้นก็ตัวใครตัวมันด้วยเช่นกันครับ

อย่าเอาวิธีอื่นมาผสมกับวิธีนี้ มันจะยุ่งครับ อย่าคิดเอากากน้ำตาล แกลบ ฯลฯ มาใส่ .... ปุ๋ยหมักคุณภาพตกแล้วจะเสียดายเวลา 2 เดือนครับ ...... เอาไว้ทำให้เก่งก่อน แล้วค่อยเป็นนักวิจัย ใส่โน่น นี่ นั่น

ฟาง 4 สุ่มไก่ วางได้ความยาวประมาณ 6 เมตร .... เสร็จแล้วเอาขี้วัว 4 กระสอบ (1 สุ่มไก่) มาโรยให้ทั่ว โดยใช้วิธีแบ่งกองเป็น 4 ส่วน .... แต่ละกระสอบรับผิดชอบบริเวณของตัวเอง ..... ฟาง 2 สุ่มไก่รับผิดชอบปลายด้านหนึ่ง .... ฟางอีก 2 สุ่มไก่ก็รับผิดชอบปลายอีกด้านหนึ่ง

โรยขี้วัวเสร็จก็รดน้ำ พร้อมกับเอาคราดเหล็กเขี่ยไปมา ก็เป็นอันเสร็จชั้นที่ 1 .... ความยาวกองประมาณ 6 เมตร

ชั้นที่ 2 3 4 ก็ทำแบบเดียวกัน โดยปรับให้เริ่มเป็นรูปสามเหลี่ยม

พอปรับให้เป็นสามเหลี่ยม พอสูงขึ้นไปขืนใช้ฟาง 4 สุ่มไก่เท่าเดิม ชั้นที่ 5 ก็เริ่มจะรู้สึกว่าหนากว่า 10 ซม. เลยต้องลดฟางให้เหลือ 2 สุ่มต่อชั้น และขี้วัวเหลือครึ่งสุ่ม หรือ 2 กระสอบต่อชั้น

พอทำสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ ก็จะมาถึงชั้นที่ต้องลดจำนวนฟางให้เหลือ 1 สุ่ม และขี้วัวเหลือ 1 กระสอบต่อชั้น

พอได้สูง 1.5 เมตร ก็ทำให้แหลมเป็นยอดสามเหลี่ยม ชั้นบนสุดเป็นมูลสัตว์ ก็เป็นอันเสร็จการขึ้นกองปุ๋ย .... หลังจากนั้น 60 วันเป็นการอัดน้ำกองปุ๋ยตามที่กำหนด ก็อ่านดูได้จากลิ้งค์นี้ครับ แล้วทำกองปุ๋ยให้แห้ง ก่อนบรรจุกระสอบหรือนำไปใช้


การทำปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์แบบกองสามเหลี่ยมไม่พลิกกลับกอง
https://www.facebook.com/notes/ห้องเรียนปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกอง-แม่โจ้/การผลิตปุ๋ยหมักปริมาณมากแบบไม่พลิกกลับกอง/872779429405137

ใครที่ไม่อยากได้ปุ๋ยหมักเป็นตัน ๆ ก็ทำในวงตาข่าย โดยวิธีการก็ทำแบบเดียวกันครับ 2 เดือนเสร็จเหมือนกัน คุณภาพเหมือนกัน

ในคลิปจะมีพี่คนหนึ่งเอาถังมาตักน้ำไนโตรเจนที่เจิ่งนองออกมาจากกองปุ๋ย ด้วยความเสียดายไนโตรเจนด้วยครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น